IT ' S ME

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การทำ Link และใส่รูปภาพ

การทำ Link และใส่รูปภาพ
วิธีการทำ Link และใส่รูปภาพ

การทำ Link มีขั้นตอนดังนี้

1. หาแหล่งที่อยู่ (URL) ของข้อมูลที่จะทำ Link

2. ระบุชื่อ Link ควรเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่เข้าใจง่าย เช่น

2.1 แหล่งสืบค้นข้อมูล

2.2 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

สิ่งที่ได้เรียนรู้

สิ่งที่ได้เรียนรู้
สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้ ?

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้วันนี้คือ

* วิธีการเปลี่ยนชื่อบล็อก
* การแก้ไขบันทึก
* การนำไพล์ขึ้น
* การแทรกรูปภาพ
* การ Link เวป
* การเปลี่ยนภาพประจำตัว
* การสร้างบล็อก
* การตกแต่งบล็อก

จนทำให้ข้าพเจ้าได้ใช้งานเวปบล็อก Learners ได้อย่างเกิดคุณค่าและสามารถนำเวปนี้มาใช้ประโยชน์ในการบันทึกงาน และเป็นแหล่งรวบรวมแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนและคนอื่น ๆ ที่ได้เข้ามาเยี่ยมชม อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ในวิชาชีพได้ด้วยในเรื่อง การเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นการส่งการบ้าน หรือสั่งงานนักเรียนในช่วงที่มีภาระกิจไม่สามารถมาสอนได้ หรือแม้แต่การเชื่อมโยงสื่อสารกับสมาชิกทุกท่านใน Learnersในเรื่องที่มัความสนใจเหมือนกันหรือมีการแสดงความคิดเห็นให้กันก็ ได้

นวัตกรรมการเรียนการสอน E-media

นวัตกรรมการเรียนการสอน E-media
นวัตกรรมการเรียนการสอน E-media

นวัตกรรมการเรียนการสอน E-media คือ ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการจัดการเรียนการสอน .... (e-Media) สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ผ่านเครือข่าย Internet หรือแม้กระทั่งผู้สอนนำมาสอนเองในรูปแอบ VDO ไฟล์เสียง ภาพ รวมทั้งอื่นๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและเข้าใจง่าย และที่สำคัญสือการเรียน E-media รวดเร็วและหลากหลายรูปแบบ องค์พราะบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเพื่อให้การศึกษาเจิรญก้าว หน้าอย่างรวดเร็ว จึงจัดตั้งสถานี อ.ส.เพื่อเผยแพร่ความรู้ และสาระบันเทิงแก่ประชาชน ในปี 2539 นี่จึงเป็นบ่อเกิดแห่ง E-media ขึ้นและถูกพัฒนามาในหลายรูปแบบต่อไป

ที่มาและวัตถุประสงค์ในการพัฒนานวัตกรรม

นวัตกรรมการเรียนการสอน E-media จัดทำขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2539 เพื่อให้การศึกษาเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและกว้างขว้างยิ่งขึ้น และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาการศึกษามาในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น E-leanning,E-media ถูกพัฒนามาเรื่อยๆจนถึง ปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ เพื่อให้การศึกษามีความรวดเร็วและกว้างขวางสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง และที่สำคัญเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในการเรียนที่ดี จดจำได้ง่าย หรือแม้กระทั่งผู้สอนสามารถนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยในการสอนเพื่อ ให้ผู้เรียนได้รัยสิ่งใหม่ๆจากเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนการพัฒนา

ขั้นตอนการพัฒนา นวัตกรรม E-media ย้อนไปในสมัยอดีตริเริ่มก่อนที่จะมาถึงปัจจุบันขั้นตอนแรกๆๆในการพัฒนา จากแนวความคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งสถานีวิทยุ อ.ส.เพื่อเผยแพร่ความรู้ และสาระบันเทิงแก่ประชาชน ในปี 2539 โดย นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ได้น้อมรับพระราชดำรินำเทคโนโลยีโทรคมนาคมสื่อสารมาใช้จัดการเรียนการสอนทาง ไกลผ่านดาวเทียม ด้วยความร่วมมือระหว่างกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและบริษัทกลุ่มชินวัตร ถ่ายทอดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาผ่านดาวเทียมออกอากาศทางวิทยุโทรทัศน์ UBC จากศูนย์กลางโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปทั่วประเทศไทย หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาสื่อ E-media ออกมาหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะทำโดย software หรือโปรแกรมพิเศษหลายตัวที่สามารถทำได้และเอาลงเวปไซท์เผยแผ่ต่อไปโดยผ่าน ระบบ Internet ต่อไป

ลักษณะของนวัตกรรม

ลักษณะของนวัตกรรม E-media จะพูดไปแล้วลักษณะมีหลากหลายรูปแบบแต่ที่เด่นๆ นั้น E-media สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองคล้ายๆกับ E-leanning แต่ E-media จะโดดเด่นกว่าในรูปของภาพมโนทัศ เห็นได้ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน และหลายกหลายกว่า ยกตัวอย่างเช่นด้าน flashmedia เป็นการนำ softwareflash มาจัดการสร้างเป็น วัตกรรมการเรียนการสอนได้ หรือแม้กระทั่ง software อื่นๆ อีกมากมายหลายรูปแบบก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน เพราะฉนั้นลักษณะของ E-media จึงเป็นได้ทั้งออนไลและออฟไลท์ก็ได้ ออฟไลท์ก็เช่นครูผู้สอนสร้างเองแล้วนำมาจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดความ เข้าใจต่อนักเรียนแล้วนำไปเผยแพร่ลงเวปไซท์ต่อไปก็ใด้เพราะฉนั้นผู้เขียน บันทึกจึงบอกว่ามีหลายกหลายรูปแบบ

ผลการนำไปทดลองใช้

ผลจากการนำไปทดลองใช้ จากการแสดงความคิดเห็นหลายๆบอร์ดพบว่า E-media ได้รับความพึงพอใจจากผู้ใช้ เช่น

1. การสืบค้นข้อมูลสามารถทำได้รวดเร็วและหาข้อมูลได้ง่าย

2. สามารถจดจำได้ดีกว่าที่เคยเรียนมา จดจำได้ง่าย เข้าใจเร็ว

3.สืบค้นข้อมูลจากที่ไม่มีในหนังสือไม่มีในห้องสมุดได้

นวัตกรรมการเรียนการสอน E-media ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาเพื่อ ช่วยในการเรียนและการสอนในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เรื่อง มลพิษของน้ำ การเคลื่อนไหวแบบไม่อาศัยกล้ามเนื้อ ไฟฟ้าสถิต การหายใจ อื่น ๆ เพื่มเติมอีกมากมาย





ขอขอบคุณ

http://gotoknow.org/blog/srvkcs/377790

(ความหมาย)
http://www.il.mahidol.ac.th/th/index.php/e-media.html
(นวัตกรรมการเรียนการสอน E-media)

นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา

นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษา
ความหมายของเทคโนโลยี คือ การนำเอากระบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้ หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้ กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น


เปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์
ทัศนะทางวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นไปที่วัสดุอุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรม แต่ไม่รวมวิธีการ ปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะการนำเอาเครื่องมือมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ตามจุดหมายได้ง่ายขึ้น การประดิษฐ์พัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ เรียกว่า เทคโนโลยีทางเครื่องมือ ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ จัดการเรียนการสอนให้ สอดคล้องกับพฤติกรรมจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่าง ๆ
บุคคลธรรมดาสามัญ การศึกษาเป็นการเล่าเรียนฝึกฝน และอบรม บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา เป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ
เพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ
บุคคลที่เป็นนักการศึกษา แบ่งเป็น 2 ทัศนะ
1. ทัศนะแนวสังคมนิยม คือการปรับตัวให้เข้ากับสังคมด้านศาสนาวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
2. ทัศนุเสรีนิยม คือ การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว


เทคโนโลยีการศึกษามี 3 ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่า
1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู เป็นการ เร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เป็นการเพิ่มความสัมผัสจากการใช้ หูฟังครูพูดอย่างเดียว ให้มีสัมผัสหลายทางโดยการใช้ภาพใช้เสียงจากเสียงจริง การใช้เทคโนโลยี ระดับนี้ต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลาจึงจะได้ผลดี
2. ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็น ต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป การใช้เทคโนโลยีระดับนี้บทบาทของครูต่อหน้า ผู้เรียนลดลงมีผลดีในแง่การจัดกิจกรรม การใช้เครื่องมือ แต่มีข้อเสียคือ ไม่มีความผูกพันระหว่างครูกับผู้เรียน
3. ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบ การศึกษาตอบสนองกับผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่นระบบการสอนทางไกล เทคโนโลยีระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่นงานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา


ข้อแตกต่าง และความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม
นวัตกรรมคือ ความคิดและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เทคโนโลยีคือ การนำเอาขบวนการวิธีการและแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่าง มีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม คือ การให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะถูกให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ งานในปัจจุบัน ดังนั้นความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่เรียกว่านวัตกรรมจะกลายเป็นเทคโนโลยีทันที


ขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น
2. ขั้นการพัฒนา
3. ขั้นการนำไปใช้ หรือปฏิบัติจริง

นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาการศึกษา

นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาการศึกษา
นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาการศึกษา
นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาการศึกษา

การคิดสร้างสรรค์หรือกรรมวิธีใหม่ๆ ซึ่งต่างไปจากที่เคยปฏิบัติมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานต่างๆ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูง ขึ้น เราเรียกว่า “นวัตกรรม” นวัตกรรมตรงกับคำว่า “innovation” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า To renew หรือ to modify หรือ “ทำขึ้นมาใหม่” ดังนั้น คนเราจึงควรมีนวัตกรรม คือ ต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า เพื่อปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ ครู-อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ๆ ที่คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” นั่นเอง ฉะนั้นคำว่า นวัตกรรมการศึกษา จึงหมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ แนวความคิดวิธีการหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งได้ผ่านการทดลอง วิจัย หรืออยู่ระหว่างการทดลอง หรือ อาจเป็นสิ่งที่เคยใช้แล้วมาปรับปรุงใหม่มาใช้ในการศึกษาเพื่อปรับปรุง หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ให้ดี ยิ่งขึ้น
ชุดการเรียนนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนแบบตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ

1.
สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สไลด์ แผ่นใส เอกสารตำราสารเคมี สิ่งพิมพ์ต่างๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2.
สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3.
สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ ได้แก่ การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
4.
สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (cai) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (computer presentation) การใช้ internet และ internet เพื่อการสื่อสารและการใช้ www ( world wide web )

ในปัจจุบันนวัตกรรมมีรูปแบบหลากหลายมากมาย เพื่อให้เราสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของบริบทแต่ละสถานที่ ผู้เรียน และปัจจัยอื่นๆด้วย ซึ่งสามารถเลือกใช้ตามประเภทของนวัตกรรม ดังนี้
1. บทเรียนสำเร็จรูป
2. ชุดการสอน
3. แผ่นภาพโปร่งใส
4. เอกสารประกอบการสอน
5. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6. วีดีทัศน์
7. สไลด์
8. เกม
9. สื่อประเภทอุปกรณ์
10. มัลติมีเดีย
11. internet
12. e-learning
ดังนั้นในการพัฒนาการศึกษา เราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้คนสนใจ และใคร่ที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะนวัตกรรมการเรียนการสอน ต่อไปน่าจะมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น เพราะปัจจุบันมีการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ้งต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามสภาพ จริง เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้เรียนจึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายมีความสนใจกระตือรือร้นและเกิดความอยาก รู้อยากเห็น สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองประกอบที่สำคัญดังนี้ ครูผู้สอน ต้องมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมประเภทMultimedia สามารถจัดทำสื่อนวัตกรรมออกมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพอย่างเต็มที่และเต็มความ สามารถ
ผู้เรียนจะต้องใฝ่เรียนรู้ในเรื่องขอการใช้นวัตกรรมในรูปแบบของไอทีให้มาก ขึ้น เพื่อจะได้เกิดความคุ้นเคยแล้วสามารถใช้สื่อได้อย่างถูกต้อง และสถานศึกษาต้องจัดทำสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ให้พร้อมเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและทำให้การจัดกระบวนการเรียน การสอนมีความสมบูรณ์ ซึ้งจงส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ไปพัฒนาการ ศึกษาให้มีความเจริญ ก้าวหน้าต่อไป

สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาการศึกษา

สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาการศึกษา
สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาการศึกษา

ในปัจจุบันนวัตกรรมมีรูปแบบหลากหลายมากมาย เพื่อให้เราสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของบริบทแต่ละสถานที่ ผู้เรียน และปัจจัยอื่นๆด้วย ซึ่งสามารถเลือกใช้ตามประเภทของนวัตกรรม ดังนี้
1. บทเรียนสำเร็จรูป
2. ชุดการสอน
3. แผ่นภาพโปร่งใส
4. เอกสารประกอบการสอน
5. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6. วีดีทัศน์
7. สไลด์
8. เกม
9. สื่อประเภทอุปกรณ์
10. มัลติมีเดีย
11. internet
12. e-learning
ดังนั้นในการพัฒนาการศึกษา เราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้คนสนใจ และใคร่ที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะนวัตกรรมการเรียนการสอน ต่อไปน่าจะมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น เพราะปัจจุบันมีการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ้งต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามสภาพ จริง เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้เรียนจึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายมีความสนใจกระตือรือร้นและเกิดความอยาก รู้อยากเห็น สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองประกอบที่สำคัญดังนี้ ครูผู้สอน ต้องมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมประเภทMultimedia สามารถจัดทำสื่อนวัตกรรมออกมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพอย่างเต็มที่และเต็มความ สามารถ
ผู้เรียนจะต้องใฝ่เรียนรู้ในเรื่องขอการใช้นวัตกรรมในรูปแบบของไอทีให้มาก ขึ้น เพื่อจะได้เกิดความคุ้นเคยแล้วสามารถใช้สื่อได้อย่างถูกต้อง และสถานศึกษาต้องจัดทำสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ให้พร้อมเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและทำให้การจัดกระบวนการเรียน การสอนมีความสมบูรณ์ ซึ้งจงส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ไปพัฒนาการ ศึกษาให้มีความเจริญ ก้าวหน้าต่อไป
ที่มา http://nutchanatmk20.multiply.com/journal/item/5/5

สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์





สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นสื่อการสอนที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อช่วยในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความรู้ความเข้าใจในสาระการเรียน รู้นั้นมากยิ่งขึ้น



คลิกดูตัวอย่างสือการสอนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

มารู้จักกับ E-Book

มารู้จักกับ E-Book
มารู้จักกับ E-Book

ความหมายของ e-Book

“อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป



โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง E-Book มีอยู่หลายโปรแกรมแต่ที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบันได้แก่
1. โปรแกรมชุด Flip Album
2. โปรแกรม DeskTop Author
3. โปรแกรม Flash Album Deluxe
ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้น แล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1.1 โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer
1.2 โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
1.3 โปรแกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player



ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) กับหนังสือทั่วไป

ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น
1.หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ
2.หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างให้มี ภาพเคลื่อนไหวได้
3.หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล (update)ได้ง่าย
5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออกไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ
ประหยัด
7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทาง
หน้าจอคอมพิวเตอร์
9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถ
สั่งพิมพ์ (print)ได้
10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์ คอมพิวเตอร์ใน Handy Drive หรือ CD
12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม



โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book Construction)
ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไป ที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ กระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ

สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
1. หน้าปก (Front Cover)
หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่า หนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
2. คำนำ (Introduction)
หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น
3. สารบัญ (Contents)
หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้างอยู่ที่หน้า ใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้

4. สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่มประกอบด้วย

• หน้าหนังสือ (Page Number)
• ข้อความ (Texts)
• ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
• เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
• ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg, .wav, .avi
• จุดเชื่อมโยง (Links)

5. อ้างอิง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้
6. ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษร
ให้สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
7. ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม
คลิกเพื่อเชื่อมโยงดูตัวอย่าง Multimedia E-book

ที่มา

http://www.oknation.net/blog/freeday888/2009/08/25/entry-1

มัลติมีเดีย สื่อผสมของการเรียนรู้

มัลติมีเดีย สื่อผสมของการเรียนรู้

มัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสาน สื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia)

การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำ ได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้มัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้ หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเองได้สื่อต่าง ๆ ที่นำมารวมไว้ในมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของมัลติมีเดีย

1.เพื่อการเรียนการสอนที่มีขอบเขตกว้างขวางเพิ่มทางเลือกในการเรียนการสอน

2.สามารถตอบสนองรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกันได้สามารถจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่าง ๆ

3.เพื่อการเรียนรุ้ได้ นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนการลงมือปฏิบัติจริง

4.สามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการได้เป็นอย่างดี และนักเรียนสามารถที่จะเรียนหรือฝึกซ้ำได้

จึงกล่าวได้ว่า มัลติมีเดียมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ทางการเรียนและการสอน


สรุป
มัลติมีเดียโดยมากจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มทาง เลือกในการเรียน และตอบสนองรูปแบบการเรียนที่แตกต่างกันของนักเรียน และด้วยการออกแบบโปรแกรมแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อให้สามารถนำเสนอสื่อได้หลายชนิด ตามความต้องการของผู้เรียน จึงตอบสนองการเรียนด้วยตนเองแบบเชิงรุกได้ ซึ่งช่วยให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนลงมือปฏิบัติจริง และสามารถที่จะทบทวนความรู้ต่าง ๆ หรือฝึกเรียนซ้ำได้ส่วนการใช้มัลติมีเดียเป็นสื่อทางการสอน จะเป็นการส่งเสริมการสอนที่มีลักษณะการสอนโดยใช้สื่อประสม ซึ่งทำให้สามารถนำเสนอเนื้อหาได้ลึกซึ้งกว่าการบรรยายปกติ จึงอาจกล่าวได้ว่า มัลติมีเดียจะกลายมาเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเรียนการสอนในอนาคต

คลิกดูตัวอย่างสือการเรียนการสอนมัลติมีเดีย



ที่มา

http://www.seameo.org/vl/pallop/multime.htm

http://abahpunk.multiply.com/links/item/6

ความรู้พื้นฐานในการผลิตสื่อ

ความรู้พื้นฐานในการผลิตสื่อ


ความรู้พื้นฐานในการผลิตสื่อ

ความรู้พื้นฐานในการผลิตสื่อ คือการ ใช้การวิเคราะห์สื่อการสอนนั้น ผู้สอนควรจะได้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุ ประสงค์การเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งประกอบด้วย

1. การวิเคราะห์ผู้เรียน

2. การกำหนดจุดประสงค์

3. การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อ

4. การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน

5. การปรับปรุงแก้ไข

โดยที่หลักการดังกล่าวนี้จะนำไปสู่การ เรียนรู้ในการออกแบบสื่อ ลักษณะการออกแบบที่ดี การประดิษฐ์ตัวอักษร ด้วยคอมพิวเตอร์ หลักในการประดิษฐ์ตัวอักษร สีและการใช้สี ตลอดจนคอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลใน การเรียนรู้ที่มากยิ่งขึ้น



คลิกที่นี่ อ่านเนื้อเรื่องเพิ่มเติม เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานในการผลิตสื่อ การออกแบบสื่อ การประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยคอมพิวเตอร์ สีและการใช้สี คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อ